ธงชาติไทย
พุทธศาสนา
พระมหากษัตริย์ไทย
ผมรักในหลวงครับ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ความทุกข์เกิดเพราะใจเกาะเกี่ยว ยึดติดกับอารมณ์ในอดีต และคาดหวังในอนาคต ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ เมื่อต้องการแก้ทุกข์ทางใจ จึงต้องให้ใจกับอารมณ์แยกเป็นคนละส่วน จนเกิดช่องว่างเหมือนล่อนออกจากกัน เมื่อทำได้อย่างนี้ความทุกข์จะหายไปทันที
ทุกข์เพราะจิตใจอ่อนแอไม่เข้มแข็ง
ขยายความรู้สึกให้กว้างกว่าตัว ให้เพิ่มความมั่นคงเข้าไปในความรู้สึก ความเข้มแข็งจะปรากฏขึ้นมา ระยะแรกจะต้องเพิ่มความมั่นคงบ่อย ๆ เพื่อให้ความมั่นคงอยู่ตัว ให้คอยสังเกตสภาพจิตหลังเพิ่มความมั่นคงได้แล้วด้วย
ทุกข์เพราะเครียดจากความคิดและปัญหาต่าง ๆ
วิธีคิดที่ไม่ก่อให้เกิดทุกข์
- ให้คิดอยู่ในบรรยากาศของความรู้สึก
- ให้ความคิดอยู่นอกบรรยากาศ
- ให้คิดผ่านความว่าง
- ให้คิดอยู่ในความว่าง
- ให้เอาความรู้สึกดูความคิด
ไม่ว่าจะใช้ธรรมข้อใดข้อหนึ่ง ผลที่ออกมาจะต้องเห็นช่องว่างระหว่าอารมณ์ ( คลายอุปาทาน ) ความทุกข์จะสลายไปทันที
ทุกข์เพราะดับความทุกข์ไม่ได้
ให้เอาความรู้สึกซ้อนเข้าไปในความทุกข์ เพียงเท่านี้ความทุกข์ก็จะหายไป
ทุกข์เพราะขาดความสุข
ให้ระลึกถึงความดีที่เคยกระทำมาแล้ว แม้ความดีที่ระลึกได้จะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม ให้เอาความรู้สึกซ้อนเข้าไปในความดีนั้น บรรยากาศของความดีจะค่อย ๆ ปรากฏขึ้นมา ให้เอาความรู้สึกซ้อนเข้าไปในบรรยากาศที่ปรากฏขึ้นมานั้น บรรยากาศความดีจะปรากฏชัดขึ้น ให้เอาความรู้สึกซ้อนเข้าไปในบรรยากาศความดีที่ชัดขึ้น บรรยากาศความดีจะเปลี่ยนเป็นบรรยากาศความสุข ให้เอาความรู้สึกซ้อนเข้าไปในบรรยากาศความสุข บรรยากาศความสุขจะเปลี่ยนเป็นพลัง ให้นิ่งอยู่ในพลังความสุขพร้อมกับขยายพลังความสุขนั้นมาที่รูป ( ตัว ) จะรู้สึกถึงความสุขที่เกิดขึ้นทั้งกายและใจ เป็นความสุขที่ไม่มีตัวตน เมื่อเจริญบ่อยๆพลังความสุขจะอยู่ตัว
ทุกชาติ....อย่าคลาด
เก็บติดตัวใกล้ใจไว้ทุกครา
วิธีดูความดี
ให้ใช้วิธีเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบัน เป็นต้นว่าเดือนนี้กับเดือนก่อน เมื่อจิตมีกำลังให้เปรียบเทียบชั่วโมงต่อชั่วโมง ขณะต่อขณะ จะเกิดความชัดเจนในความดีที่ได้กระทำมาแล้ว และความดีที่ยังไม่ได้ทำ เมื่อทำได้อย่างนี้ชีวิตจะไม่ไร้สาระ
จิตมั่นคงสงบ ไม่หวั่นไหว
ทุกข์เพราะคนรอบข้างไม่เห็นความดี
ทั้งนี้เกิดจากขาดบรรยากาศขณะกระทำความดี จัดเป็นความดีแห้งแล้งให้ผลช้า เมื่อต้องการให้คนรอบข้างเห็นความดี จึงต้องมีบรรยากาศในขณะกระทำความดีนั้น ๆ ซึ่งต้องประกอบด้วยความเบา ความอ่อนโยน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาสุภาพเรียบร้อย มีสัมมาคารวะ รู้กาลเทศะ ไม่ยกตนข่มท่าน ความดีชนิดนี้มีกำลังมาก เป็นที่ชื่นชมยินดี ควรแก่การสรรเสริญเยินยอจากผู้ที่ได้พบเห็น เฉกเช่นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมละมุนละไมย่อมขจายกลิ่นไปได้ไกลฉันใดก็ฉันนั้น
ทุกข์ทั้งปวงได้
เจอแต่ความทุกข์ใจ
เปิบข้าวทุกคราวคำ
สิ้น ทุกข์ เมื่อเข้าใจ ทุกข์
บทความจาก board.palungjit.com
0 ความคิดเห็น